กุมมาสปิณฑชาดก ชาดกว่าด้วยอานิสงส์ถวายขนมกุมมาส
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยในการแย้มสรวลของพระองค์ ” “ ดูกร อานนท์ กุมาริกาผู้นี้จักได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าโกศลในวันนี้ทีเดียว เพราะผลแห่งการถวายก้อนขนมกุมมาสเหล่านี้ ”
กปิชาดก ชาดกว่าด้วยการโกหกหลอกลวง
ดาบสน้อยกำลังจะเอื้อมมือเปิดประตูให้แขกผู้มาขอพักหนาว ทันใดนั่นเองพระฤาษีผู้เป็นบิดาก็คว้าคบไฟชิงก้าวตัดหน้าออกไปก่อน “ ช้าก่อนดาบสน้อยของพ่อ อาคันตุกะตัวนี้มิใช่ฤาษีที่ไหนหรอกลูก หากแต่เป็นผู้หลอกลวงเรา ด้วยเอาหนังเสือและชฎาจากซากศพฤาษีที่ตายแล้วมาห่ม หวังพักผิงไฟแก้หนาวก็เท่านั้น ”
อุจฉังคชาดก ชาดกว่าด้วยหญิงผู้มีใจรักพี่รักน้อง
หญิงสาวชาวนาจำเป็นต้องเลือกขอชีวิต สามี พี่ชาย และลูกชายได้เพียงคนเดียวเท่านั้น นางจึงได้ชี้แจงต่อพระราชาไปว่า “ ขอเดชะพระองค์ผู้เป็นราชาเทพ อันบุตรนั้นย่อมเกิดในครรภ์เหมือนอยู่ในพกในห่อ หม่อมฉันย่อมให้กำเนิดบุตรเองได้ อันสามีเล่าหากต้องการ เมื่อเดินไปตามทาง ย่อมหาได้ไม่ยาก แต่โอกาสจะมีพี่น้องร่วมท้องพ่อแม่เดียวกัน หม่อมฉันมองไม่เห็นทาง เพราะพ่อแม่ได้เสียชีวิตไปแล้ว ”
ขรัสสรชาดก ชาดกว่าด้วยบุตรที่มารดาละทิ้ง
วันหนึ่ง มีบัณฑิตผู้หนึ่งได้เดินทางไปพักที่ในหมู่บ้านนั้น เขาได้เห็นอำมาตย์ผู้นี้ เวลาจะเดินทางไปไหน ต้องมีคนตีฆ้องกลองนำหน้า มีบริวารห้อมล้อมเป็นที่เอิกเกริกใหญ่โต “ เวลาใดที่พวกโจรมาปล้นบ้าน เผาบ้านเรือน ฆ่าโคกิน แล้วจับเอาคนไปเป็นเชลยนั้น เมื่อนั้นบุตรธิดาละทิ้งแล้ว จึงมาตีกลองเสียงอึกทึก โดยแท้จริงอำมาตย์ผู้นี้เองเป็นคนทุจริต เป็นผู้สมคบกับโจร ”
อันตชาดก ชาดกว่าด้วยที่สุด ๓ ประเภท
อีกาตัวหนึ่งเห็นสุนัขจิ้งจอกกำลังกินซากโคอย่างเอร็ดอร่อย มันจึงแกล้งพูดยกย่องเจ้าจิ้งจอกเพื่อจะได้กินซากโคนั้นบ้าง “ ท่านพญาจิ้งจอกผู้มีร่างกายล่ำสัน องอาจดั่งพญาราชสีห์ ข้าขอนอบน้อมแด่ท่าน ขอให้ข้าได้กินเนื้อนั่นบ้างเถิด ” ฝ่ายสุนัขจิ้งจอกเมื่อได้ยินกากล่าวยกย่องตนดังนั้นก็ชื่นใจ แล้วจึงกล่าวตอบด้วยการยกย่องกาเช่นกัน “ กุลบุตรย่อมสรรเสริญกุลบุตรด้วยกัน ท่านกาผู้มีสร้อยคองามเด่น ดั่งเช่นนกยูง เชิญท่านลงมาจากต้นละหุ่ง มากินเนื้อให้สบายใจเถิด ”
โกสัมพิยชาดก ชาดกว่าด้วยอยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
“ ต่อไปพวกเราอย่าได้ไปกราบไหว้ภิกษุพวกนี้อีกนะ ” “ พวกเราจะไม่ถวายบิณฑบาตด้วย ทำแบบนี้ ภิกษุเหล่านี้จะได้สำนึกเสียบ้าง” เมื่อภิกษุเหล่านั้นถูกพวกอุบาสกลงทัณฑกรรมเช่นนั้นจึงสำนึกได้ พากันไปยังเมืองสาวัตถีกราบทูลขอขมาโทษต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
กุหกชาดก ชาดกว่าด้วยพูดดีได้เงินได้ทอง
เศรษฐีได้นำทองคำไปฝังไว้ใกล้ๆ บรรณศาลาของดาบส และได้ฝากฝังดาบสให้เป็นผู้ดูแลทองคำนั้น ดาบสปลอมหรือชฎิลโฏงได้ถือโอกาสขุดเอาทองคำของเศรษฐีในยามค่ำคืนไปแอบซ่อนไว้ที่อื่นจนหมดสิ้น
เกสวชาดก ชาดกว่าด้วยความคุ้นเคยเป็นรสอันยอดเยี่ยม
นารทอำมาตย์ได้สอบถามอาการของเกสวดาบส "ท่านหายจากโรคได้อย่างไรกัน ขนาดพระเจ้าพาราณสีทรงพาแพทย์มาดูแลรักษาท่านถึง ๕ คน ยังไม่สามารถทำให้ท่านหายได้" "เราดื่มยาคูลที่หุงด้วยข้าวฟ้างและลูกเดือยอันระคนด้วยผักที่ราดด้วยน้ำ ซึ่งไม่เค็มและไม่ได้อบกลิ่น อาหารจะดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลที่คุ้นเคยกัน แล้วบริโภคในที่ใดการบริโภคในที่นั้นแหละดี เพราะรสทั้งหลายมีความคุ้นเคยเป็นเยี่ยม" เกสวดาบสตอบ
กาสาวชาดก ชาดกว่าด้วยผ้ากาสาวพัสตร์
พญาช้างอยากลงโทษให้พรานชั่วให้ตายตกไปตามชีวิตบริวารของตน แต่เห็นแก่ผ้าเหลืองกาสาวพัสตร์ในพระพุทธศาสนา จึงลงโทษสถานเบาให้เข็ดหลาบ แล้วปล่อยให้พรานออกจากป่าโดยให้พรานตั้งสัตย์ปฏิญาณว่าจะเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตและตั้งอยู่ในศีลธรรม อันดีตลอดไป
กัจจานิโคตตชาดก ชาดกว่าด้วยในการไหน ๆ ธรรมย่อมไม่ตาย
" ธรรมะคงตายไปจากโลกนี้แล้ว ไม่อย่างนั้นคนจิตใจชั่วอย่างสะใภ้ของเราคงไม่มีลูก และคงไม่มีความสุขเช่นนี้ ” วันหนึ่งหญิงชราได้นำข้าวของได้แก่ งา แป้ง ข้าวสาร ทัพพี ถาด และศีรษะมนุษย์ที่ตายแล้ว ๓ ศีรษะมาทำเตาไฟ เพื่อทำพิธีถวายมตกภัตแก่ธรรมในป่าช้า ด้วยเข้าใจว่าธรรมได้ตายไปแล้ว นางเริ่มก่อไฟแล้วลงน้ำสระผม บ้วนปาก สยายผม จากนั้นจึงเริ่มซาวข้าวเพื่อถวายมตกภัตแก่ธรรม